เปรียบเทียบอิฐมวลเบา CLC และ AAC

 

เปรียบเทียบอิฐมวลเบา CLC และ AAC อิฐมวลเบาโดยทั่วไปอาจแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ชนิดไม่อบไอน้ำ  (Cellular Lightweight Concrete:CLC) และ ชนิดอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง  (Autoclave Aerated Concrete: AAC) มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้

  1. อิฐมวลเบาชนิดไม่อบไอน้ำ CLC มีคุณสมบัติความเป็นฉนวน ได้แก่ ฉนวนกันความ ร้อน กันเสียง และกันความชื้น วัตถุดิบในการผลิตประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ สารก่อฟองคุณภาพสูง ทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็กมากที่มีความเสถียรและแทรกตัวอยู่ในเนื้อคอนกรีต ทำให้มีน้ำหนักเบา เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีเทา

ข้อดีคือ อัตราการดูดซึมน้ำต่ำกว่าอิฐมวลเบา AAC จึงลดปัญหาความชื้นและเชื้อรา การก่อสร้างง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากใช้ปูนทรายธรรมดาในการก่อฉาบได้ จึงประหยัดค่าก่อสร้างมากกว่า มีความแข็งแรงทนทานต่อการกระแทกหรือการขูดขีดได้ดี สามารถเจาะฝังพุกยึดแขวนอุปกรณ์เครื่องใช้และรูปภาพได้ ขณะเดียวกันยังกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ ช่วยลดค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศ ส่วนจุดด้อยคือ คอนกรีตมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย หากช่างปูนมีความชำนาญ ปัญหานี้ก็จะหมดไป

  1. อิฐมวลเบาชนิดอบไอน้ำ AAC ผลิตโดยใช้การอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง วัตถุดิบในการผลิตแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดปูนขาว ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก ทำให้คุณภาพคอนกรีตไม่สม่ำเสมอและดูดซึมน้ำมากกว่า ส่วนชนิดปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ คุณภาพคอนกรีตได้มาตรฐานสม่ำเสมอ และเกิดการตกผลึกในเนื้อคอนกรีตทำให้แข็งแกร่งทนทานขึ้น เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีขาว

ข้อดีคือ มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงกว่าระบบ CLC ข้อเสียคือ อัตราการดูดซึมน้ำมาก ต้องใช้ปูนก่อฉาบชนิดพิเศษในการก่อสร้าง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง และมีขั้นตอนในการผลิตที่ยุ่งยากกว่า ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับใช้ก่อผนังได้ทั้งภายในมากกว่าใช้เป็นผนังภายนอกอาคารที่สัมผัสความชื้นและฝนโดยตรง ผู้ผลิตหลายรายยังใช้ระบบ AAC  เนื่องจากนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยก่อน จึงติดตลาดมากกว่า และราคาในปัจจุบันถูกลงมาก

Login